คำคมขงจื้อ

คำคมขงจื้อ
-->

ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่
 ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไร คุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น
 เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย
 เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส
 เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
 ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

 นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด
 ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด
 ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว
 แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว
 เดินหมากรุกยังต้อง " คิด "
เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

เมื่อใครสักคนหนึ่ง ทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา
 เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา
 ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้ 

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น
 ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่
 ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
 ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

 อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่ หรือ อาจจะ"
เขามีความหมายว่า "อาจจะ"
เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ"
เขามีความหมายว่า "ไม่"
เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต
( เพราะนักการฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร )

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):
เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"
เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่ หรือ ได้"
เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่ หรือ ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี
( สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่าย ๆ )

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):
 
คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน
 คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น
 แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

“หากมนุษย์ขาดซึ่งมนุษยธรรม เขาจะมีอะไรข้องเกี่ยวกับขนบจารีตได้เล่า หากมนุษย์ขาดซึ่งนุษยธรรม เขาจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับดนตรีได้เล่า?”

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

ขงจื๊อ กล่าวไว้ ให้ทำการศึกษา เรียนรู้ข้อเท็จจริง
 อย่าฟังแต่ความเห็น คำนินทา ดังคำกล่าวว่า

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

คนมีเมตตา ต้องฉลาด ไม่งั้นจะโดนหลอกได้ง่าย
 คนฉลาด ต้องศึกษาสิ่งรอบตัว ไม่งั้นจะประพฤติตัวผิดได้ง่าย
 คนซื่อสัตย์ คนตรง คนกล้า ต้องฉลาด ต้องศึกษา
 เพราะจะหุนหันพลันแล่นและมีภัยใกล้ตัวง่าย
 คนอยากมีอำนาจ ต้องศึกษา
 เพราะคนรอบข้างอาจรู้สึกโดนข่มเห่ง และดูวางโตได้ง่าย

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

โลกเรายังมีอะไรอีกมากมายให้เรียนรู้
 ฉลาด เก่ง คงไม่พอ แต่ต้องมีสติ รู้จักวางตัว
 และต้องหมั่นศึกษาและติดตามข่าวสารที่เป็นความรู้ทั้งในสายวิชาชีพ
 และการใช้ชีวิตในสังคมอีกด้วย ก่อนสิ้นใจ

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า
“ ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย ”

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

หลักความรู้ ศาสตร์สี่แขนง ที่ขงจื๊อวางรากฐานไว้
 ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์
 โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษ และพิธีการโบราณ
 ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้
 จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้ ได้แก่
สำรวจตรวจสอบ
 ขยายพรมแดนความรู้
 จริงใจ
 แก้ไขดัดแปลงตน
 บ่มความรู้
 ประพฤติตามกฎบ้านเมือง
 ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

ลำดับการเรียนรู้ ได้แก่
พิธีกรรม
 ดนตรี
 ยิงธนู
 ขี่ม้า
 ประวัติศาสตร์
 และ คณิตศาสตร์

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

คุณธรรมทั้งสาม ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่
ภูมิปัญญา
 เมตตากรุณา
 และความกล้าหาญ

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

 สี่ขั้นตอนหลักการสอน ได้แก่
ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี
 ตั้งตนในคุณธรรม
 อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล
 สร้างสรรค์ศิลปะใหม่

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):

สี่ลำดับการสอน ได้แก่
คุณธรรมและความประพฤติ
 ภาษาและการพูดจา
 รัฐบาลและกิจการบ้านเมือง
 และสุดท้าย คือ วรรณคดี

:(¸. •'´(¸.•'´ * ขงจื้อ * `'•.¸)`'•.¸ ):